สำนักสหปฏิบัติฯ

        เรื่องของการปฏิบัติบูชาควรพิจารณาแนวทางการปฏิบัติในทางกลางๆ ไม่ตึงไป ไม่หย่อนไป พระองค์ทรงแสดง “ธรรมจักรกัปปวัตตนสูตร” เพื่อโปรดปัญจวัคคีย์  อันประกอบด้วย

  1. กามสุขัลกานุโยค       การหมกมุ่นอยู่ในกามคุณ ๕ อันเป็นทางหย่อน
  2. อัตตกิลมถานุโยค      การดัดตนข่มตนในทางตึง บังคับตนให้ทุกข์ทรมาน
  3. มัชฌิมาปฏิปทา          การปฏิบัติตามสายกลาง พิจารณาด้วยเหตุและผล
พระพุทธองค์ไม่เคยกำหนดว่าทางพ้นทุกข์ต้องกินข้าววันละมื้อ หรือต้องกินเจ กินผักตลอดชีวิต ในขณะปฏิบัติธรรม ไม่เคยกำหนดว่าคนเราจะบรรลุอรหันต์ได้ ต้องบวชเป็นพระเท่านั้น ฆารวาสที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ เข้าใจแก่นแท้ของศาสนาจริงๆก็สามารถบรรลุอรหันต์ได้โดยไม่ต้องบวช ไม่ต้องอยู่วัด อยู่ป่า การอยู่วัดมีข้อดีทำให้เราผัสสะน้อยลงลดปัจจัยที่เป็นกิเลส ตัณหามากระทบ แต่แท้จริงการที่เราได้มีโอกาสได้ผัสสะกลับเป็นข้อดีได้รับรู้ เรียนรู้ ได้มีโอกาสปรับปรุงแก้ไข พัฒนจิตใจให้สูงขึ้นได้ เพราะทุกอย่างอยู่ที่ใจ พระเกจิอาจาร์ยหลายท่านพึงฝึกปฏิบัติชอบในทางตึงบ้าง ด้วยจริตและความสามารถที่พิเศษกว่าคนทั่วไป การตั้งสิ่งต้องการทำไว้แล้วตั้งใจปฏิบัติให้ได้ตามที่ได้ตั้งจิตไว้ย่อมดี แต่ทั้งนี้เราต้องพิจารณาว่าตั้งไว้สูงเกินไปไหม สำหรับคนบางคนถูกจริตย่อมทำได้ แต่ก็อาจจะไม่ตรงจริตกับหลายๆคนได้เช่นกัน การที่เราตั้งการปฏบัติไว้สูงเท่าไร  การปฏิบัติต้องยิ่งใช้ปัญญาเฉพาะตัวมากขึ้นเท่านั้น  เราควรต้องพิจารณาว่าเราตั้งสิ่งปฏิบัติตึงไปไหม หากเราทำได้แล้วเริ่มถ่ายทอดให้คนอื่นทำบ้าง ตัวรู้ของคนที่ได้รับถ่ายทอดเพียงพอไหม หากเขารับไปฝึกแต่รู้เพียงว่าต้องทำให้ได้ เพราะมันเป็นกฏเป็นข้อห้าม ไม่ทำตามไม่สวยงาม ใครๆเขาก็ทำเราจึงต้องทำตาม อย่างนี้ไม่ได้จรรโลงปัญญา ปฏิบัติธรรมเคร่งครัด แล้วเกิดไม่มีตัวรู้ ไม่ถูกจริตก็จะกลายเป็นปฏิบัติธรรมเคร่งเครียดไป กลายเป็นศีลอุปาทาน หรือที่เรียกว่าอุปทานในการถือศีล หรือตั้งหย่อนจนเป็นศีลอุปรามาส ประมาทในการถือศีล นึกว่าตนปฏิบัติดีแล้วแท้จริงไม่เพียงพอ หรือเลือกแนวทางปฏิบัติไม่ตรงจริต จะกลายเป็นกรรมเก็บกดไปเสียอีก