ธรรมารมณ์ ธรรมจักร จักรธรรม
ธรรมจักรหรือธรรมพระพุทธองค์นั้น เรียกได้ว่าเมื่อศึกษาและสามารถเรียนรู้จนเข้าถึงได้นั้น จิตผู้ศึกษาเรียนรู้นั้นย่อมมีความศักย์สิทธิ เนื่องจากอารมณ์ขณะจิตที่เข้าถึงเรื่องของสิ่งศักย์สิทธิ จะเกิดเป็น ภาวะจิตที่ศักย์สิทธิ มีธรรมารมณ์ เกิดขึ้น ยิ่งศึกษาให้ลึกซึ้งควบคู่ไปกับฝึกอารมณ์จนสามารถเกิดเป็นอารมณ์ในระดับองค์ฌานองค์ญาณ จะยิ่งมีอานุภาพมาก เนื่องจากฌานนั้นเป็นอารมณ์ที่เป็นฤทธิ์ ทำให้เห็นและรู้ได้ในมุมกว้าง ส่วนญาณนั้นเมื่อเกิดขึ้นย่อมส่งผลให้เกิดเป็นความรู้ที่หยั่งลึกลงไป ทำให้อารมณ์ธรรมนั้นเกิดเป็นทรงมิติกว้างไกลออกไป ในแง่มมุมของหลักเคมี ฟิสิกส์ที่เหนือสามัญวิสัญ ผู้ที่ปฏิบัติจนเกิดธรรมารมณ์นั้นจะทำเกิดเสริมราศีที่ผิวหนังให้สวยสง่าเห็นเด่นชัดขึ้น ยิ่งหากได้องค์ฌานมาเสริมราศีก็จะเริ่มสว่างกว้างไกลออกจากผิวหนังเป็นรัศมี และ รังสี เกิดขึ้นตามลำดับ ภาวะเช่นนี้หากจิตสามารถปฏิบัติได้สูงถึงระดับจัตตุตฌานก็จะสามารผสมสานปรุงแต่งบุญบาปเก่าได้ด้วยตนเอง ชีวิตย่อมก้าวหน้าสุดประมาณ หรือหากเรายังไม่สามารถปฏิบัติได้องค์ฌานองค์ญาณระดับสูงอย่างน้อยก็จะพร้อมรับบุญเก่าที่เคยปฏิบัติไว้ได้ตามหลักจักรธรรม นั่นคือมีจิตที่ชอบในธรรมจักร ย่อมมีภูมิธรรม มีจิตตั้งมั่นพร้อมไว้ก่อนนั่นคือมีอัตตสัมมาปณิธิ เมื่อกาลเวลามาถึง ถูกต้องทั้งสถานที่(ปฎิรูปเทสวาสะ) และบุคคลที่เกี่ยวข้องถูกต้องลงตัว(สัปปุริสูปัสสยะ) เช่น ไปบวชเนกขัมมะ หรือเข้าร่วมพิธีกรรมต่างๆที่เจ้าพิธีมีความสามารถในทางในสูง ยิ่งหากมีกรรมเกี่ยวเก่ากับเราด้วยแล้ว จะยิ่งทำให้จักธรรม ๔ สมบูรณ์แบบ ปุพเพกตปุญญตา(บุญเก่าหนุนนำ)ก็จะมาหาเราได้ไม่ยาก ธรรมารมณ์จึงถือเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดที่ทำให้จิตเราเกิดเป็นอัตตสัมมาปณิธิ เราจึงควรลดอารมณ์มนุษย์ ประเภท โลภ โกรธ หลง โดยเฉพาะอารมณ์พันทางประเภท อิจฉา ริษยา อาฆาต พยาบาท นั้นอย่าให้มีเด็ดขาด เพราะนั่นหมายถึงตั้งตนไว้ไม่ชอบขัดแย้ง หลักจักรธรรม อารมณ์เช่นนี้เป็นอันตรายมาก เพราะนอกจากบุญเก่าจะไม่มาช่วยแล้ว หากดวงตก หรือกาลเวลาเสวยบุญหมดก็อาจจะเป็นภัยต่อตนได้ คนที่มีอัตสัมาปนิธินั้นหากชีวิตจะมีอันที่จะต้องตกต่ำ ก็จะมีสิ่งมาช่วยดึงไว้