สำนักสหปฏิบัติฯ

            ท้าวมหาพรหมเชื้อเชิญ
              เมื่อพระพุทธองค์ทรงเสวยสมมุติสุขครบ 49 วัน พระพุทธองค์ก็ทรงเสด็จกลับไปประทับที่ต้นอชปาลนิโครธ(ต้นไทร) อีก ทรงมีพระปริวิตกว่า ธรรมะที่พระองค์ทรงตรัสรู้นั้นลึกซึ้งยิ่งนักที่ผู้มีเพียงโลกิยปํญญาจะรู้และเอาชนะกิเลสได้  จึงคิดเป็นนัยว่าจะไม่ไปเผยแผ่พระธรรมเพื่อให้พระพรหม มาเชื้อเชิญตามทำเนียมดังพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ  ท้าวสหัมบดี พรหมพร้อมทวยเทพจึงได้เชื้อเชิญพระพุทธองค์ เพื่อให้พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมเผยแผ่พระธรรมเพื่อโปรดหมู่สัตว์โลกให้ข้ามพ้นโอฆสงสาร จากนั้นพระพุทธองค์ทรงผุดพระเจตนาที่จะแสดงพระธรรมโปรดสัตว์โลกและเทวา  และได้แสดงเทศนาธรรมเปรียบหมู่สัตว์โลกดังบัวสี่เหล่า
 
          ทรงแสดงปฐมเทศนา
             ที่เมือง พารานาสี  ทรงส่งพระจักษุญาณค้นหาผู้เหมาะสมจะฟังธรรมจากพระองค์เป็นคนแรกทรงซึ่งโคตร๗ อุทกดาบส รามบุตรเป็นอันดับแรกแต่ทั้งสองเสียชีวิตไปแล้ว  ทรงเลือกแสดงธรรมโปรดปัญจวคีย์ถัดมา ก่อนอาสาฬหบูชา ๔ วัน พระองค์มุ่ง   ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน   แคว้นพารานาสีกาลิงคราษฏร์ ระหว่างทางพบ อุปกาชีวก โดยทรงเจตนาเพราะพระองค์ทราบว่าเขาจักได้บวชในพระศาสนาพระองค์ทรงแสดง“ธรรมจักกัปปวัตตนสูตร”เพื่อโปรดปัญจวัคคีย์  อันประกอบด้วย
·      กามสุขันลิกานุโยค         การหมกมุ่นอยู่ในกามคุณ ๕
·      อัตตกิลมถานุโยค          การดัดตนข่มตนบังคับตนให้ทุกข์ทรมาน
·      มัชฌิมาปฏิปทา           การปฏิบัติตามสายกลาง
·      อริยสัจย์ ๔ ประการ:    ความจริงอันประเสริฐ
·      อริยมรรคมีองค์ ๘
             สิ่งใดมีการเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดก็ดับไปเป็นธรรมดาสิ้นคำสอนพระพุทธองค์ โกณฑัญญพราหม์ได้ดวงตาเห็นธรรมบรรลุโสดาปัตติผล ทรสตรัสว่า “อัญญาสิ วต โภ โกณฑัญโญ”อันหมายถึงอัญญาโกฑัญญพราหม์ได้รู้ตามแล้วหนอ”  นับเป็นเวลา  ๖๐ วันหลังตรัสรู้ พร้อมกับพรหม ๑๕ โกฏิขอบวช เอหิภิกขุ ทั้ง ๔ คน และแรม ๑ ค่ำเดือน ๘ จำพรรษาที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน
·      แรม ๑  ค่ำ เดือน ๘  ประทานโอวาท อนันตตลักขณสูตรให้กับ พระวัปปะ จนบรรลุโสดาบัน
·      แรม ๒ ค่ำประทานโอวาทให้กับ พระภัททิยะ จนบรรลุโสดาบัน
·      แรม ๓  ค่ำประทานโอวาทให้กับ พระมหานามะ จนบรรลุโสดาบัน
·      แรม ๔  ค่ำประทานโอวาทให้กับ พระอัสสชิ จนบรรลุโสดาบัน
·      แรม ๕  ค่ำ เดือน ๘ พระพุทธองค์ให้ภิกษุปัญจวัคคีย์ประชุมพร้อมกัน แล้วสอนทรงเทศพระธรรมเทศนา อนันตตลักขณสูตรให้ปัญจวคีย์  อันกล่าวถึง ขันธ์ ๕ เป็น อนัตตา ให้พิจารณา อดีต อนาคต ปัจจุบัน ภายใน หรือ ภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือปราณีต ไกลหรือใกล้ให้พิจราณาด้วยปัญญาอันชอบเป็นตามจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตนของเรา  เบญจขันธ์ไม่เที่ยง และอนัตตา จบเทศนาก็บรรลุเป็นพระอรหันต์พร้อมกันทั้งหมด ๖ องค์