ความปล่อยวาง การปล่อยทิ้ง
ชีวิตมนุษย์ตามความหมายที่เป็นสากลประกอบขึ้นด้วยการ (body) จิต (Mind) และวิญญาณ(Spriture)ส่วนความหมายตามหลักแห่งพุทธ คือ รูปและนาม ประกอบด้วย ขันธ์ห้า คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และ วิญญาณ เรื่องที่เกี่ยวกับร่างกายของมนุษย์สามารถเรียนรู้ได้จาก คามรู้หลายแขนง เช่น วิชาสรีระศาสตร์ (Physiology) ที่ว่าด้วยคุณสมบัติและการทำหน้าที่ของอินทรีย์ต่าง ๆ ซึ่งเป็นส่วนของส่งที่เป็นรูปร่างและชีวิต หือวิชากายวิภาคศาสตร์ (Anatomy) วิทยาศาสตร์การแพทย์สาขาที่ว่าด้วยโครงสร้างของร่างกายโดยศึกษาเป็นส่วน ๆ สังคมวิชาการได้สรรค์สร้างความรู้ที่เกี่ยวกับร่างการของมนุษย์ไว้หลายสาขา ล้วนให้ความรู้ที่ล้ำลึกละเอียดซ่อนเร้นมากกว่า ธรรมชาติในร่างกายที่ยังคงมีสิ่งปกปิด ปิดบังความลึกลับซับซ้อนไว้อย่างน่าพิศวง เป็น ความท้าทายให้มนุษย์ขวนขวายติดตามศึกษาอย่างน่าทึ่ง
เรื่องที่เกี่ยวกับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับจิตใจมนุษย์ มนุษย์เองสามารถศึกษาได้ค่อนข้างกว้างก็จริงอยู่ แต่การค้นคว้าเป็นไปด้วยความยากลำลากยิ่งกว่าการเรียนรู้เกี่ยวกับทางด้านร่างกายมากมาย ความรู้บางเรื่องประสบการณ์บางอย่างถึงขั้นถูกนำมาสร้างขึ้นเป็นทฤษฎี แต่ล้วนทฤษฎีดังกล่าวก็ยังถูกโจมตีไม่เป็นที่ยอมรับ ผลที่สุดถึงขั้นปฏิเสธ ยกเลิกเพิกถอนไปก็มาก ทั้งจากผู้ที่อยู่ในสายอาชีพเดียวกันและจากนักวิชาการแขนงอื่น ๆ เช่นทฤษฎีจิตวิเคราะห์ และจิตวิทยาระดับลึกของซิกมันด์ ฟรอยด์ ตั้งแต่สมัยเด็ก ๆ ถูกปฏิเสธต่อต้านอย่าง รุนแรง ต่อมาภายหลังผลงานการพิสูจน์ทบทวนใหม่ได้เป็นที่ปรากฏสมเหตุผล จึงได้รับความสนใจเป็นที่ยอมรับของสังคม
เรื่องเกี่ยวกับอารมณ์และจิตใจเป็นเรื่องที่เข้าใจยาก เป็นความละเอียดอ่อนที่ยกจะหาความละเอียดใด ๆ เทียบเทียมเท่าทัน ความลุ่มลึก สุขุม ประณีตของจิตอารมณ์ ผู้ที่จะเข้าถึงข้อเท็จจริงต้องใช้ความรู้สึกในการศึกษาที่มีลักษณะของความคิดที่เป็นอิสระ จะต้องไม่ยึดถือมั่นอย่างที่ชาวบ้านเรียกว่าเอาเป็นเอาตาย กล่าวง่ายๆ ก้อคือ ต้องเรียนรู้ด้วยความว่างของจิตใจ
การเรียนรู้ต้องใช้ความสังเกตุ พินิจพิจารณา แต่ต้องเป็นจิตที่ปล่อยว่าง ปราศจากความเคร่งเครียดมุทะลุดุดัน มุ่งหมายแต่จะเอาชนะคะคาน หรือมุ่งพิชิตด้วยเหตุผลของความต้องการ เพื่อประโยชน์ในทางรูปธรรมอย่างหนึ่งอย่างใด การซึมซับความรู้และผลของการทำงานของจิต ต้องการความแยบยลและแยบคายอย่างค่อยเป็นค่อยไป
ห้องเรียนหรือสนามทดลองที่เกี่ยวกับปัญหา และผลงานของจิตมนุษย์อยู่ที่ตัวของมนุษย์เอง ประสบการณ์ที่สำคัญที่สุดของจิตมีเพียงสองกรณี กรณีแรก คือ ประสบการณ์ของความสุขสุดยอด (ซึ่งที่จริงเป็นสิ่งสมมติ แต่เป็นความรู้สึกที่มนุษย์ต้องการมากที่สุด) กับประสบการณ์ของความทุกข์ (ซึ่งเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเสมอ และเป็นของที่แท้จริงของทุกชีวิต แต่เป็นที่เกลียดกลัวของมนุษย์ทุกคน)
การทดลองและเรียนรู้เพื่อให้เกิดเป็นความรู้แท้ ตลอดจนการฝึกฝนจิตเพื่อให้ได้ผลสมประสงค์ จะต้องมีองค์ประกอบด้วยสมบัติที่สำคัญที่สุดของจิต คือ จิตที่มีความว่าเปล่าไม่ใช่เป็นจิตที่มีความอ้างว้าง ความว่างเปล่าของจิตหมายถึงจิตที่สมบูรณ์อิ่มเอิบ ไม่ยึดมั่นถือในสิ่งใด ไม่นำสิ่งใดที่เกิดจากอารมณ์มายึดติด มีลักษณะเป็นจิตสงบ สะอาด แล้วจึงจะเป็นจิตที่สว่างผุดเป็นความรู้ความคิด หรือที่เรียกว่าเกิดญาณทัศนะ อันเป็นปัญญาภายใน ซึ่งต่างกับจิตที่มีความอ้างว้างเปล่าเปลี่ยว จะขาดความเข้มแข็ง เต็มไปด้วยความวิตกขึงตึงเครียด แต่ลักษณะของจิตที่ว่างเปล่ากับจิตที่อ้างว้างซึ่งเป็นลักษณะของขาวและดำ มักจะได้รับการปฏิบัติและเข้าใจผิดจากจิตของผู้ที่มีความอ่อนแอ มีสุขภาพจิตที่ย่ำแย่เป็นจิตที่ขาดคุณสมบัติ ขาดคุณภาพ เปิดโอกาสให้เจ้าของจิตดำเนินชีวิตผิดพลาดมามากต่อมาก
ปัญหาชีวิตประจำวันมีส่วนสำคัญที่จะทำให้ผู้คนหลงกลในการทำงานของจิต เกิดความเข้าใจผิดคิดว่าความเบื่อหน่ายเอือมระอาในชีวิตปล่อยภารกิจทิ้งคาทิ้งขว้าง โดยอ้างว่ามีความท้อแท้ในชีวิตจิตใจไม่ยอมกระทำหน้าที่ใด ๆ เป็นหลักการสอนสั่งของพุทธศาสนา ที่ให้ทำจิตให้ว่าง ซึ่งเป็นความเข้าใจผิดอย่างมหันต์ ลักษณะที่เป็นความว่างของจิตใจที่ต้องปล่อยวางว่าง หลังจากที่เจ้าของชีวิตได้ทุ่มเทชีวิตและจิตใจในการทำงานที่ยากยิ่งให้ผ่านลุล่วงไป ไม่ตังเป้าหมายหรือตั้งความหวังจนถึงขั้นเกิดความขึ้งเครียด
เมื่อร่างกายที่อยู่ภายใต้การควบคุมของอารมณ์และจิตใจเกิดความขุ่นข้องหมองมัวในการดำเนินชีวิตขึ้นเมื่อใด จิตและอารมณ์ที่ขัดแย้งกันอย่างรุนแรงจะก่อให้เกิดปฏิกิริยาสะท้อนกลับ ผลของมันจะก่อให้เกิดความท้อแม้และเบื่อหน่ายชีวิตบางคนคิดไปว่า การที่จิตมีอาการขึงตึงเครียด โดยไม่เข้าใจถึงธรรมชาติของจิตว่าจิตที่ดี คือ จิตที่มีลักษณะปล่อยว่างไม่ยึดมั่น ก็คือ ความไม่มีอุปทาน และกลับคิดว่าจิตที่ขึงตึงเครียดอยู่ภายในนั้นคือ จิตที่มีพลัง
การปล่อยปละละเลยทิ้งขว้างภารกิจและหน้าที่ ไม่ว่าจะเป็นบุคคลใด ที่เกิดคามรู้สึกจากจิตนอกสำนึก ส่งความรู้สึกบอกแก่เจ้าตัวว่า การอยู่อย่างปล่อยวาง คือ อยู่อย่างว่าง ๆ เป็นความสุขที่สุด แต่ขณะเดียวกันจิตใต้สำนึกหรือจิตวิญญาณของบุคคลคนนั้น ที่เต็มเปี่ยมไปด้วยคามรู้สึก รับผิดชอบจากประสบการณ์ของชีวิต ก็กำลังร้องอุทธรณ์จากเจ้าของชีวิต อยู่ภายในที่เจ้าตัวขาดความรับผิดชอบต่อกิจกรรมของชีวิต ปล่อยให้สรระสิ่งทั้งหลายล่วงเลยไปตามยถากรรม
ความขัดแย้งของจิตภายนอกและจิตภายในของบุคคลคนเดียวกันนั้น เป็นเรื่องของจิตค้านจิต โอกาสที่จะทำให้เกิดความวิปริตวิปลาสขึ้นในจิตมีมาก จะเห็นได้ว่าอันตรายจากความไม่รู้ ไม่ศึกษาข้อเท็จจริงในกระบวนการทำงานของจิตจึงมีโอกาสสับสนและผิดพลาด ผิดกันอย่างตรงกันข้ามระหว่างการปล่อยปละละเลยทอดทิ้งไม่รับผิดชอบต่อหน้าที่ กับความปล่อยว่าง คือ ไม่ยึดมั่นในความไม่เที่ยงแท้
การเข้าถึงจิตใจตนเองและล่วงรู้จิตใจผู้อื่น เป็นสิ่งสำคัญมาก หากใครทำได้ดังนี้ แทนที่จะมีจิตใจว้าวุ่นหรือซึมเศร้า กลับจะมีจิตใจอ่อนโยน สามารถปรับตัวได้ทุกขณะ
อีกทั้งจะรู้จักริเริ่มสร้างสรรค์ แสวงหาสิ่งที่เป็นประโยชน์เพียรพยายามเข้าใจทุก ๆ ส่วน ของชีวิต