จิตและอารมณ์
ใจและจิตที่เป็นนามขันธ์ กายรูป 1 ขันธ์ ใจและจิตที่เป็นนาม 4 ขันธ์
จิตต้องมีสติ เพราะจิตเป็นธรรมชาติที่รับรู้อารมณ์เพื่อไปควบคุมอารมณ์และไปกำกับพฤติกรรม หากจิตมีสติและมีปัญญากำกับก็จะเกิดเป็น “อทุกขมสุขเวทนา”สามารถปล่อยวางและเป็นอุเบกขามีเมตตา มีศีลในการจัดระเบียบชีวิต
จิตหากทำงานร่วมกับปัญญาก็จะเป็นสัมปชัญญะ ความรู้ตัวนำไปสู่สมาธิธรรมชาติ กำกับการปฏิบัติตนให้จิต สว่าง สะอาด สงบอันเป็นฐานของจิตที่ควรแก่การงาน สามารถประสบความสำเร็จในชีวิตให้มีฉันทะ ปิติยินดี ปราโมทย์ปลื้มอกปลื้มใจ ปัสสทิสงบสุข จิตก็จะเป็นอนันทะเกิดความสุขเป็นฐานของจิตที่จะไปนิพพาน
จิตที่มีสมาธิ จะเป็นจิตว่างที่พร้อมรับรู้เรียนรู้ทั้งทางโลกและทางธรรมสามารถมองเห็นทุกอย่างมีลักษณะร่วม คือไตรลักษณ์ ทุกอย่างล้วนเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป สามารถเกิด Enlighten หรือเกิดการผุดโพลงในความคิดได้อย่างปาฏิหาริย์
การทำงานของจิต
จิตเกิดรับรู้ พอมีสติ สามารถรับรู้อารมณ์ สามารถคิด พิจารณา จำ จำได้ หมายรู้ พอมีปัญญารู้แจ้งแทงตลอดเป็นจิตศักดิ์สิทธิ์ ที่มีทั้งฤทธิ์และรู้ ไปสู่มโนยิทธิ และจิตตานุภาพ เข้ารู้เรื่องสามัญวิสัย ทำให้พฤติกรรมให้สมดุลกับวิบากกรรม อารมณ์จึงเป็นฤทธิ์ ไม่มีสติ อารมรณ์มาป่วนจิตเรา คุมเรา
อารมณ์คือ การแสดงออกที่ขาดความรู้สึก เป็นการแสดงออกตามความรู้สึกที่เปลี่ยนแปลงตามสิ่งเร้าที่รับรู้ แสดง รัก โลภ โกธร หลง พอใจ ไม่พอใจ แล้วแสดงความรู้สึกออกมาอย่างขาดสติ อารมณ์จึงเป็นทั้งฤทธิ์และพิษจิตที่ไม่ฝึกจึงเป็นทาสของอารมณ์ ตัณหา นิวรณ์ ปปัญจะสัญญา = อยากได้ อยากใหญ่ แต่ใจแคบ จิตใต้สำนึกจะทำงานปรุงแต่งจิตและความคิดและความคิดในการรู้แจ้งจากผัสสะในสังขารขันธ์รวมทั้งตัวรู้และตัวรู้สึกที่มีอยู่เดิม แสดงออกมาในเวทนาขันธ์