สำนักสหปฏิบัติฯ

                                      มหาบุรุษประสูติ
            พระนางสิริมหามายาทรงสุบินนิมิตร ๓๒  ประการก่อนตั้งพระครรภ์ แปลโดย ๖๔  พราหม์ ว่าจะมีบุตรเป็นชายที่มีบุญบารมีสูงส่ง หากอยู่เป็นฆารวาสจะได้เป็นจอมจักรพรรดิที่ยิ่งใหญ่ แต่หากบวชจะได้เป็นถึงมหาศาสดา
 
ผู้ที่จะเป็นพระมหาบุรุษ ต้องมี

  • การบำเพ็ญบารมี ๓๐  ได้แก่
๑.     บารมีธรรมดา ๑๐เจตนาขั้นธรรมดาตามปกติวิศัย
๒.   อุปบารมี ๑๐  เจตนาเกินขั้นธรรมดาเกินปกติวิศัย จิตใจแรงกล้าเสียสละอวัยวะได้
๓.  ปรมัตถบารมี ๑๐  เกินปกติวิศัย จิตใจแรงกล้าเสียสละชีวิตได้
 

  • มีคุณสมบัติ ๑๗  ข้อ
 
ขณะพระมหาบุรุษเข้าพระครรภ์ เกิดบุพนิมิตร ๓๒ ประการ

  • ท้าวจาตุมหาราชทั้ง ๔ คุ้มครองรักษาพระครรภ์
  • พุทธมารดาทรงรักษาศีลตลอดทรงพระครรภ์
               เมื่อพุทธมารดาเดินทางออกจากกรุงกบิลพัสดุ์เพื่อเสด็จกลับเทวทหะนคร ระหว่างทาง วันขึ้น ๑๕ค่ำเดือน ๖เมื่อถึงบริเวณสวนลุมพินี ทรงประสูติพระกุมารใต้ต้นสาลพฤกษ์ (ต้นรังใหญ่) พระโพธิสัตว์ทรงเหยีดขาออกจากครรภ์พระมารดา ในลักษณะยืนประดุจพระธรรมกถึกลงจากธรรมาสน์ไม่เปรอะเปื้อนด้วยสิ่งปฏิกูลใดที่อยู่ในครรภ์พระชนนี  ธารสองสายพุ่งลงมาจากอากาศ สรงพระสรีระ ทั้งสองพระองค์ท้าวมหาพรหมจากชั้นสุทธาวาส ๔  พระองค์ถือข่ายทองมารองรับท้าวมหาพรหมกั้นเศวตฉัตรให้ท้าวมหาราชทั้ง ๔  รับพระโพธิสัตว์จากท้าวมหาพรหมท้าวสุยามะถือพัดวาลวีชนีเทวดาเหล่าอื่นถือเครื่องราชกุธภัณฑ์เดินตามเสด็จ
         พระกุมารทรงเดิน ๗ก้าวหันมาทางทิศตะวันออกแล้วกล่าวว่า “เราเป็นผู้เลิศในโลก เราเป็นผู้ประเสริฐที่สุดในโลกชาตินี้เป็นชาติสุดท้ายของเราชาติต่อไปของเราไม่มี”พร้อมขึ้นกับการเกิดขึ้นของสหชาติทั้ง ๗ดังนี้
 
สหชาติของพระมหาบุรุษ ( ผู้ที่เกิดวันเดียวกันกับมหาบุรุษ )
๑.   พระนางพิมพา
๒.   พระอานนท์
๓.   นายฉันนะอำมาตย์
๔.   กาฬุทายีอำมาตย์
๕.   ม้ากัณฐกะ
๖.   ต้นพระศรีมหาโพธิ์
๗.  ขุมทองทั้ง ๔ทิศ
            ขุมที่ ๑  สังขนิธี
            ขุมที่ ๒  เอลนิธี
            ขุมที่ ๓  อุบลนิธี
            ขุมที่ ๔  บุรฑริกนิธร
 
บุญญานุภาพแห่งพระมหาบุรุษ
·       มีมหาบุรุษลักษณะ ๓๒
·       มีอนุพยัญชนะ ๘๐
·       มีรูปมหามงคล ๑๐๘
 
พระเจ้าสุทโทนะทรงยกมือไหว้เป็นครั้งแรก
                ดาบส  กาฬเทวิล ผู้ได้สมาบัติ ๘เป็นผู้คุ้นเคยกับราชสกุลของพระเจ้าสุทโธทนะเสด็จลงจากเทวโลกมาชมพระกุมาร พระเจ้าสุทโธนะสั่งให้ประดับพระโอรสแล้วให้อุ้มมานมัสการพระดาบส แต่พระบาทของพระกุมารกลับขึ้นไปติดบนชฎาของดาบส พระราชาเห็นจึงยกมือไหว้โอรสของพระองค์ นับเป็นการไหว้ครั้งแรก
 
ขนานนามมหาบุรุษ เจ้าชายสิทธัตถะ โดยพราหม์ ๘ ท่าน
           โดยพราหม์ชื่อ รามะ ธชะ ลักขณะ มันติ โภชะ สุมายะ สุทัตตะ และ โกณฑัญญะ ขณะนั้นพระอัญยาโกฑัญญะมีอายุน้อยที่สุดใน ๘คนเป็นผู้เดียวที่ยืนยันว่า พระองค์จะออกบวชเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแน่นอน พราหม์ทั้ง ๗ทราบด้วยกาลว่าจะไม่สามารถมีชีวิตอยู่ทันพระองค์ตรัสรู้ จึงได้ไปสั่งลูกชายของตนว่า หากพระโอรสออกบวช  ให้ตามไปบวชรับใช้ในสำนักพระศาสดาในอนาคต  ซึ่งในอนาคตมีลูกชายพราหม์ ๔  คนจาก ๗  คนที่ยอมติดตามพระอัญญาโกฑัญญะไปหาพระพุทธองค์ เรียกชื่อว่า ปัญจวคีย์
 
      พระเจ้าสุทโทนะยกมือไหว้เป็นครั้งที่สอง
        ในพระราชพิธีวัปปมงคล(แรกนาขวัญ) เงาต้นหว้าไม่เคลื่อน  ยังคงบังร่มแด่พระโอรสตลอดเวลา พระเจ้าสุทโทนะยกมือไหว้เป็นครั้งที่สอง
 
       นิมิตรสร้างสระโบกขรณี
            มีนิมิตรสร้างสระโบกขรณี ถวายมหาบุรุษให้ทรงเกษมสำราญ  ทรงศึกษาศิลปวิทยาเข้าศึกษาในสำนักครู วิศวามิตร เรียน ไตรเพท ๓ได้แก่
               ๑.   ฤคเวท
              ๒.  ยชุรเวช
              ๓.  สามเวท
ทรงเชี่ยวชาญศิลปศาสตร์ ๒๐ ประการ
 
 
พระเจ้าสุทโธทนะทรงให้สร้างปราสาท ๓ หลัง
           ๑.  ปราสาท ๙  ชั้นชื่อ  รัมมะ
           ๒.  ปราสาท ๗ชั้นชื่อ สุรัมมะ
           ๓.  ปราสาท ๕ชั้นชื่อ สุภะ
            ครั้นอายุ ๑๖ทรงแสดงศิลปศาสตร์การธนูประจักษ์แก่พระประยูรญาติ และมหาชน กว่า ๘หมื่น เหล่าพระประยูรญาติชื่นชมในความสามารถที่เป็นเลิศ จึงมอบถวายลูกสาวของตน รวม ๔ หมื่นนาง แก่เจ้าชาย
 
พิธีราชาภิเษก
             พระราชพิธีราชาภิเษกพระเจ้าสุทโธทนทรงแต่งตั้งพระนางพิมพา(ยโสธรา)เป็นพระอัครมเหสี พร้อมมีขัตติยนารีเป็นบริวาร ๔ หมื่น ทรงเกษมสำราญอยู่ในปราสาท ๓  หลังผลัดเปลี่ยนอยู่ตามฤดูกาล คือ
              ฤดูร้อน      ประทับที่  สุรมยะปรสารท
              ฤดูหนาว   ประทับที่   รมยะปรสารท
              ฤดูฝน       ประทับที่    สุขปราสาท
 
เสด็จออกบรรพชา
·       ครั้นทรงมีอายุ ๒๙ พรรษาทรงเสด็จทอดพระเนตรเห็น เทวทูต ๔  คือ คนแก่  คนเจ็บ คนตาย และ บรรพชิต
·       พระอุทยานรมณียสถานอันเทพเนรมิต
·       พระราหุลกุมารประสูติทรงตรัสว่า “บ่วงบังเกิดแล้ว และได้ตัดขาดการเกิดของเราในบัดนี้”มีการเฉลิมฉลองทั่วทั้งพระนคร
·         นางกีสาโคตมียืนหน้าต่างกล่าวชมเชยยกย่องว่าเจ้าชาย" คงดับทุกข์ให้กับ พระบิดา มารดา ภรรยา ได้"เจ้าชายได้ยินจึงประจักจิตว่าต้องออกบรรพชาคือทางดับทุกข์ ทรงเชื่อว่า
                            ไฟ คือราคะ ดับเชื่อว่าความดับทุกข์ก็มีได้
                            ไฟ คือ โทสะ ดับเชื่อว่าความดับทุกข์ก็มีได้
                            ไฟ คือโมหะ ดับเชื่อว่าความดับทุกขืก็มีได้
                       เมื่อความเร่าร้อนในกิเลสทั้งปวง มีมานะและทิฏฐิเป็นต้นดับแล้ว เชื่อว่าความดับทุกข์ก็มีได้ ทรงมอบสร้อยมุกให้นางตัดสินพระทัยออกบรรพชาคืนวันที่ราหุลประสูติ
 
เสด็จออกจากเมืองกบิลพัสดุ์
        พระยามัสสวดีมาราชาธิราช ขัดขวางการเสด็จออกบรรพชา โดยยุให้อยู่เป็นฆาราวาสต่อ แต่ไม่สำเร็จ
คืนออกบรรพชาเสด็จด้วย ม้ากัณฐกะ และนายฉันนะ ข้ามพ้นขอบขัณฑสีมาทั้ง ๓ คือกบิลพัทดุ์ นครสาวัตถีและนครเวสาลี จนถึงแม่น้ำ อโนมานที บรรลุถึงแม่น้ำอโนมานที ทรงตัดพระโมลีแล้วอธิฐานเป็นสรรพญูพุทธเจ้าทรงผ้ากาลเสาวพัตร์และบริขารทิพย์ ๘     พระโมลีลอยขึ้นไปในอากาศ บรรจุอยู่ที่ พระธาตุเกศแก้วจุฬามณี ซึ่งสำเร็จด้วยแก้วอินทนิล สีขียวบริสุทธ์เก็บไว้ ณ.ดาวดึงส์สวรรค์ ท้าวมหาพรหมนาม ฆฏิการ ถวายบริขารทิพย์ ส่วนอาภรณ์ให้ไปบรรจุไว้ในทุสเจดีย์สูง ๑๒ โยชน์ในพรหมโลก
                ฆฏิการมหาพรหม ผู้เคยเป็นสหายเก่าของพระโพธิ์สัตว์ นำบริขาร ๘ ไปถวาย ได้แก่ ไตรจีวร บาตร มีด เข็ม รัดประคค และผ้ากรองน้ำ แล้วพระองค์สั่งนายฉันนะให้กลับไปแจ้งข่าวบรรพชาพระบิดา  ความเศร้าโศกเสียใจของนายฉันนะมีมากมายนัก รวมทั้งม้ากัญฐกะ ก็เศร้าใจตายไป เกิดเป็นกัณฑกะเทพบุตร ที่ชั้นดาวดึงส์
                เมื่อปัญจวัคคีย์ทราบข่าวเจ้าชายสิทธัทถะออกบรรพชา เหล่าปัญจวัคคีย์จึงออกติดตามมหาบุรุษมหาบุรุษ พระองค์ทรงเสวยความสุขที่ได้จากการบรรพชาที่ป่ามะม่วงนามว่า อนุปิยะอัมพวัน ไม่เสวยภัตตราหารเป็นเวลา ๗ วันพระองค์ทรงอยู่ ณ.อนุปิยอัมพวันที่ริมฝั่งอโนมา ๗วัน จึงเสด็จเข้าสู่กรุงราชคฤห์ไปบิณฑบาตร
                 ความถึงพระเจ้าพิมพิสารพระเจ้าพิมพิสารเลื่อมใสทูลขอให้ร่วมครองบัลลังค์ร่วมกับพระองค์บิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ แต่พระองค์ทรงปฏิเสธ พระเจ้าพิมพิสารจึงขอว่าหากพระองค์บรรลุสัมมาสัมโพธิญาณ ให้เสด็จกลับมาโปรดพระองค์ด้วย
 
ทรงศึกษาอนุปุพพวิหารสมาสมบัติ ๗ จากสำนักอาฬารดาบสได้แก่
      รูปาวจรฌาน ๔ 
            ๑.   ปฐมฌาน มีองค์  ๕ :  วิตก วิจาร ปิติ สุข เอกัคคตา
           ๒.   ทุติยฌาน มีองค์ ๔  : วิจาร ปิติ สุข เอกัคคตา
           ๓.   ตติยฌาน มีองค์ ๓  :  ปิติ สุข เอกัคคตา
           ๔.   จัตตุถฌาน มีองค์ ๒  :  เอกัคคตา อุเบกขา
         อรูปาวจรฌาน ๓
๑.    อากาสานัญจายตนะ
๒.   วิญญาสานัญจายตนะ
๓.   อากิญจัญญานัญจายตนะ : ยึดความไม่มีอะไรเป็นอารมณ์
 
มุ่งหน้าสู่สำนักอุทกดาบส ผู้สำเร็จรูปาวจรฌาน ๔   และอรูปาวจรฌาน ๔
      คือสำเร็จ เนวสํญญานาสัญญายตนะ เพิ่มขึ้น
 
ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา
         ทรงเสด็จไปยัง ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม สถานที่กระทำ มหาปธานบำเพ็ญเพียรบำเพ็ญทุกรกิริยาทรงบำเพ็ญทุกรกิริยาเพื่อยกเศวตฉัตรทั้ง ๓ คือ
           ๑.     เศวตฉัตรของการเป็นมนุษย์เพื่อสมบูรย์
           ๒.    เศวตฉัตรของการเป็นเทวดา
           ๓.    เศวตฉัตรของการหลุดพ้นจากกิเลสตัญหาทั้งหลาย
             ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยาเป็นเวลายาวนานถึง ๖ปี จนกระทั่งพระอินทราธิราช เนรมิตรพิณทิพย์ ๓ สายมาดีดให้ฟังในที่สุดทรงพิจรณาเห็นอุปมา ๓ข้อ  จากการบำเพ็ญทุกรกริยาทรงค้นพบทางสายกลางหนทางแห่งการบรรลุโพธิญาณ
 
นิมิตก่อนตรัสรู้
             นางสุชาดาซึ่งเกิดในเรือนของเสนานิกุฎมพี ตำบลอุรุเวลา เสนานิคม อธิฐานกับต้นไทรไว้ ขอให้ได้แต่งงานกับคนที่มีสกุลที่มีชาติเสมอกัน และได้บุตรชายในครรภ์แรกเมื่อได้สมดั่งคำอฐิฐาน นางจึงเตรียมหุงข้าวมธุปายาสถวายเทวดาที่ต้นไทร
 
นางสุชาดาถวายข้าวมธุปายาส
ท้าวมหาพรหมร่วมกับนางสุชาดาหุง ข้าวมธุปายาสโดยนำน้ำนมโค จาก แม่โค ๑,๐๐๐ 
               โดยน้ำนมจากแม่โค    ๕๐๐   ตัวมาให้แม่โคอีก   ๕๐๐  ตัวดื่ม         
                โดยน้ำนมจากแม่โค   ๒๕๐   ตัวมาให้แม่โคอีก   ๒๕๐  ตัวดื่ม               
                โดยน้ำนมจากแม่โค   ๑๒๕   ตัวมาให้แม่โคอีก   ๑๒๕  ตัวดื่ม                            
                โดยน้ำนมจากแม่โค   ๖๒      ตัวมาให้แม่โคอีก      ๖๒   ตัวดื่ม                          
                โดยน้ำนมจากแม่โค   ๓๑       ตัวมาให้แม่โคอีก      ๓๑  ตัวดื่ม                        
                โดยน้ำนมจากแม่โค   ๑๖        ตัวมาให้แม่โคอีก      ๑๖   ตัวดื่ม       
                โดยน้ำนมจากแม่โค   ๘         ตัวมาให้แม่โคอีก       ๘   ตัวดื่ม       
       จึงนำน้ำนมจากแม่โค ๘  ตัวมาหุงข้าวมธุปายาส   โดยมีฟองใหญ่ผุดขึ้นไหลวนเป็นทักขิณาวัฏ น้ำนมแม้จะแตกออกแต่ก็ไม่กระเด็นออก ควันไฟมีมากแต่ไม่ลอยออกไปจากควันไฟ   ท้าวจาตุโลกบาลมาถืออารักขาที่เตาไฟ  ท้าวมหาพรหมกั้นฉัตร   ท้าวสักกะนำฟืนมาใส่ไฟ    เทวดานำเอาดอกชะในทวีปใหญ่ทั้งสี่มาใส่ลงในภาชนะหุงข้าว(ทุกทีใส่ในคำข้าว)     
               นางสุชาดาเห็นลักษณะมหาบุรุษ คิดว่าเป็นรุกเทวดาจึงถวายข้าวมธุปายาส มหาบุรุษใต้ร่มไทรทรงเสวยข้าวมธุปายาส ๔๙ ก้อน ซึ่งสามารถให้พระองค์ไม่ต้องเสวยอาหารอีกได้ถึง ๔๙ วัน แล้วพระองค์ทรงลอยถาดอธิฐาน ณ.ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ทรงอธิฐานหากพระองค์จะบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณให้ถาดจงลอยทวนน้ำขึ้นไป   เช่นเดียวกันกับพระโพธิสัตว์ ทั้ง ๓ พระองค์ก่อน ถาดทองลอยทวนน้ำขึ้นไปไป ๘๐ ศอกแล้วจมลงซ้อนถาดกับพระพุทธเจ้า ๓ พระองค์ก่อนคือ
๑.   พระพุทธเจ้า กกุสันโธ
๒.  พระพุทธเจ้า โกนาคมน์
๓.   พระพุทธเจ้า กัสสปะ
        พญากาฬนาคราช ครั้นได้ยินเสียงถาดกระทบ ก็กล่าวว่าเมื่อวานพระพุทธเจ้าเกิดแล้วพระองค์หนึ่ง วันนี้บังเกิดขึ้นอีกพระองค์หนึ่ง จากนั้นทรงเสด็จออกจากป่าสาลวัน(ไม้รัง) มุ่งสู่ต้นมหาโพธิ์ชื่อ อัสสัตถะ ระหว่างทางพบคนตัดหญ้าชื่อโสตถิยะมอบหญ้าคาให้ ทรงอธิฐานหญ้าคา ๘ กำมือให้เป็นรัตนบัลลังก์แก้วใต้พระสรีมหาโพธิ์ โดยหันหน้าไปทางทิศบูรพาตั้งพระทัยบำเพ็ญเพียรจนบรรลุพระสัพพัญญุตญาณแม้ชีวิตจะหาไม่ ทันใดบัลลังก์ ๑๔  ศอกก็ปรากฏขึ้น ทรงอธิฐานว่า เนื้อและเลือดในสรีระนี้ แม้จะเหือดแห้งไปหมดสิ้นเหลือแต่หนัง เอ็น กระดุก ก็ตาม ตราบใดที่ยังไม่บรรลุ พระสัมมาสัมโพธิญาณตราบนั้นเราจะไม่ลุกขึ้นจากบัลลังก์นี้
 
 
ผจญมารพระยามารเคลื่อนทัพมาทำร้าย
             พระองค์ไม่หวั่นไหวต่อกองทัพมารทรงมีบารมี ๓๐ ทัศ ที่สะสมมาตลอด ๔  อสงไขยแสนกัปป์ เป็นอาวุธต่อสู้หมู่มารแม่ธรณีบีบมวยผมหลั่งอุทกวารีที่พระองค์เคยหลั่งน้ำทักขิโนทกให้ตกลงเหนือปฐพีให้เห็นเป็นพยาน จนท่วมหมู่มาร จนพระยามารยอมจำนนและกล่าวสรรเสริญพระมหาบุรุษ
 
ทรงตรัสรู้
           ในคืนวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนวิสาขมาส (เดือน ๖)
1.      ทรงบรรลุบุพเพนิวาสานุสติญาน ในปฐมยาม ย้อนไปจนถึงครั้งที่ปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้าใกล้พระบาทของพระพุทธเจ้านามว่าทีปังกร
2.       ทรงบรรลุจุตูปปาตญาณ ในมัชฌิมยาม
3.       ทรงบรรลุอาสวักขยญาณ ในปัจฉิมยาม ทรงค้นพบว่าเหตุเพราะ
  
ปฏิจจสมุปบาท อนุโลม ( พิจราณาไปโดยลำดับ) &ปฏิโลม(พิจารณา   ย้อนกลับ) ตลอดปฐมยาม ๗ วัน
           อวิชาเกิดสังขารจึงเกิด
            สังขารเกิดวิญญาณก็เกิด
            วิญญาณเกิดนามรูปก็เกิด
            นามรูปเป็นปัจจัยให้สฬายตนะ
             สฬายตนะเป็นปัจจัยให้เกิดผัสสะ
             ผัสสะเป็นปัจจัยให้เกิดเวทนา
             เวทนาเป็นปัจจัยให้เกิดตัญหา
             ตัญหาเป็นปัจจัยให้เกิดอุปาทาน
             อุปาทานเป็นปัจจัยให้เกิดภพ
             ภพเป็นปัจจัยให้เกิดมีชาติ
             ชาติเป็นปัจจัยให้เกิดมี ชรา โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และ อุปายาส
             หากดับอวิชา กิเลสตัณหา ชาติภพก็จะยุติลงได้ในที่สุด
             ทรงตรัสรู้อริยสัจย์ ๔   ประกาศความรู้ชัดปัจจัยในยามที่    ๑     ทรงเสวยวิมุตติสุขหลังตรัสรู้ ทรงเข้าสมาบัติอนุปุพพวิหาร ๙ อยู่จนครบ  ๗ วันใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์
 
ปฐมบรมพุทธภาษิต
            “อาตมาได้ท่องเที่ยวอยู่ในชาติสงสารนี้เป็นเอกนกอนันต์ เสาะแสวงหางหานายช่างคือตัญหา ผู้ก่อสร้างเรือนคือ รูปนามจึงพบแต่ความทุกข์ทรมานชาติแล้วชาติเล่า บัดนี้อาตมาพบเจ้าแล้ว  ดูก่อนนายช่างผู้สร้างเรือนคือตัญหา เราพบท่านแล้วท่านจะสร้างเรือนแก่เราไม่ได้อีกแล้วโครงสร้างเรือนของท่านเราหักเสียแล้ว ยอดเรือนคืออวิชชาเราก็กำจัดเสียแล้ว จิตของเราถึงวิสังขาร คือพระนิพพาน อันปัจจัยปรุงแต่งไม่ได้อีกแล้วเพราะเราบรรลุธรรม เป็นที่สิ้นตัญหาเสียแล้ว”
 
พุทธอุทานมัชฌิมยาม
               ด้วยอำนาจพิจารณาพระนิพพานการบรรลุความสิ้นไปในยามที่ ๒ ด้วยอำนาจพิจารณามรรคเมื่อใด ธรรมทั้งหลายได้ปรากฏแก่พราหมณ์ผู้มีความเพียรเพ่งอยู่เมื่อนั้นความสงสัยทั้งปวงของพราหมณ์นั้นย่อมสูญสิ้นไป เพราะได้รู้ความสิ้นไปของปัจจัยทั้งหลาย เมื่อใด ธรรมทั้งหลายได้ปรากฏแก่พราหมณ์ผู้มีความเพียรเพ่งอยู่เมื่อนั้นความสงสัยทั้งปวงของพราหมณ์นั้นย่อมสูญสิ้นไป เพราะได้รู้ความสิ้นไปของปัจจัยทั้งหลาย
 
พุทธอุทานปัจฉิมยาม
        ด้วยอำนาจพิจารณามรรคการบรรลุอริยมรรคในยามที่ ๓ เมื่อใด ธรรมทั้งหลายได้ปรากฏแก่พราหมณ์ผู้มีความเพียรเพ่งอยู่ เมื่อนั้นพราหมณ์นั้นย่อมกำจัดมาร และเสนามารเสียได้ ดุจอาทิตยือุทัยทำให้ท้องฟ้าสว่างฉะนั้น
 
ทรงเสวยวิมุตติสุข
       ทรงเสวยวิมุตติสุข ๗ วัน ๗ หน รวม ๔๙  วัน
       ๑.     ทรงเสวยวิมุตติสุขหลังตรัสรู้ ทรงเข้าสมาบัติอนุปุพพวิหาร ๙ อยู่จนครบ๗ วัน ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์
       ๒.       ทรงยืนพิจรณาต้นพระศรีมหาโพธิ์ทางทิศอีสานอยู่อีก ๗ วัน สถานที่นี้จึงมีนามว่า อนิมิสสเจดีย์ 
       ๓.       ทรงเนรมิตสถานที่เพ่อเดินจงกรมทางทิศเหนือของต้นพระศรีมหาโพธิ์  อยู่อีก ๗ วัน สถานที่นี้จึงมีนามว่ารัตนจงกรมเจดีย์
          ๔.     ทรงเนรมิตเรือนแก้วทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของต้นพระศรีมหาโพธิ์ แล้วประทับบนเรือนแก้วซึ่งประกอบพิจรณาด้วยสติปัฏฐาน ๔  อิทธิบาท ๔  รวมถึงพระวินัยปิฎก พรพสุตตันตปิฎก และอภิธรรมปิฎก บังเกิดมีรัศมีจากพระวรกายเป็น ๖  สี   ทรงอยู่ที่นี่อีก ๗ วัน สถานที่นี้จึงมีนามว่า รัตนฆรเจดีย์
          ๕.    ทรงเด็จไปทางทิศตะวันออกของต้นพระศรีมหาโพธิ์ ประทับนั่งณ.ร่มไม้ อชปาลนิโครธ เสวยวิมุตติสุขอยู่อีก ๗ วัน
           ๖.   ทรงเด็จไปทางทิศตะวันออกของต้นพระศรีมหาโพธิ์ ประทับนั่งณ.ร่มไม้ มุจจรินทร์ เสวยวิมุตติสุขอยู่อีก ๗ วัน ซึ่งได้มีฝนฝอยปรอยโปรยไม่หยุดทั้งวันทั้งคืน มุจจลินทร์นาคราช เป็นเจ้าใหญ่ในสระมุจจลินทร์ เนรมิตตนเป็นงูใหญ่ขนดล้อมพระโคดม ๗ ชั้นตั้งส่วนฐานขึ้นบังฝนตลอดทั้ง ๗ วัน
          ๗.   ทรงเด็จไปทางทิศใต้ของต้นพระศรีมหาโพธิ์ ประทับนั่งณ.ร่มไม้ ราชายตนะ(ไม้เกตุ) เสวยวิมุตติสุขอยู่ อีก ๗ วัน
       พญามารขีดเส้น ๑๖ เส้นแทนบารมีที่ตนไม่มี แต่พระองค์มี คือ บารมี ๑๐  ฯลฯ     ธิดาพระยามาร : ราคา ตัณหา อรตี มายั่วยวนแก้แค้นแทนบิดามารแต่พ่ายแพ้กลับไป
 
         ปฐมอุบาสกในพระพุทธศาสนา
       ๔๙  วันหลังอธิฐานลอยถาดทองคำ พ่อค้า ตปุสสะ ภัลลิกะ : ปฐมอุบาสกในพระพุทธศาสนา มา
ถวายข้าวสัตตุก้อน สัตตุผง พระโคดมให้เส้นพระเกศา ๘ เส้นมอบให้พ่อค้าทั้งสองไป
 
            ท้าวมหาพรหมเชื้อเชิญ
              ท้าวมหาพรหมเชื้อเชิญพระพุทธปริวิตก พระธรรมขั้นสูงลึกซึ้งคนทั่วไปเอาชนะกิเลสได้ยาก จึงคิดเป็นนัยว่าจะไม่ไปเผยแผ่พระธรรมเพื่อให้พระพรหมมาเชื้อเชิญตามทำเนียมดังพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ  ท้าวสหัมบดี  พรหมพร้อมทวยเทพอาราธนาให้แสดงธรรมเผยแผ่พระธรรมทรงเปรียบหมู่สัตว์โลก เช่น บัวสี่เหล่า
 
          ทรงแสดงปฐมเทศนา
             ที่เมือง พารานาสี  ทรงส่งพระจักษุญาณค้นหาผู้เหมาะสมจะฟังธรรมจากพระองค์เป็นคนแรกทรงซึ่งโคตร๗ อุทกดาบส รามบุตรเป็นอันดับแรกแต่ทั้งสองเสียชีวิตไปแล้ว  ทรงเลือกแสดงธรรมโปรดปัญจวคีย์ถัดมา ก่อนอาสาฬหบูชา ๔ วัน พระองค์มุ่ง   ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน   แคว้นพารานาสีกาลิงคราษฏร์ ระหว่างทางพบ อุปกาชีวก โดยทรงเจตนาเพราะพระองค์ทราบว่าเขาจักได้บวชในพระศาสนาพระองค์ทรงแสดง“ธรรมจักกัปปวัตตนสูตร”เพื่อโปรดปัญจวัคคีย์  อันประกอบด้วย
·      กามสุขันลิกานุโยค         การหมกมุ่นอยู่ในกามคุณ ๕
·      อัตตกิลมถานุโยค          การดัดตนข่มตนบังคับตนให้ทุกข์ทรมาน
·      มัชฌิมาปฏิปทา           การปฏิบัติตามสายกลาง
·      อริยสัจย์ ๔ ประการ:    ความจริงอันประเสริฐ
·      อริยมรรคมีองค์ ๘
             สิ่งใดมีการเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดก็ดับไปเป็นธรรมดาสิ้นคำสอนพระพุทธองค์ โกณฑัญญพราหม์ได้ดวงตาเห็นธรรมบรรลุโสดาปัตติผล ทรสตรัสว่า “อัญญาสิ วต โภ โกณฑัญโญ”อันหมายถึงอัญญาโกฑัญญพราหม์ได้รู้ตามแล้วหนอ”  นับเป็นเวลา  ๖๐ วันหลังตรัสรู้ พร้อมกับพรหม ๑๕ โกฏิขอบวช เอหิภิกขุ ทั้ง ๔ คน และแรม ๑ ค่ำเดือน ๘ จำพรรษาที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน
·      แรม ๑  ค่ำ เดือน ๘  ประทานโอวาท อนันตตลักขณสูตรให้กับ พระวัปปะ จนบรรลุโสดาบัน
·      แรม ๒ ค่ำประทานโอวาทให้กับ พระภัททิยะ จนบรรลุโสดาบัน
·      แรม ๓  ค่ำประทานโอวาทให้กับ พระมหานามะ จนบรรลุโสดาบัน
·      แรม ๔  ค่ำประทานโอวาทให้กับ พระอัสสชิ จนบรรลุโสดาบัน
·      แรม ๕  ค่ำ เดือน ๘ พระพุทธองค์ให้ภิกษุปัญจวัคคีย์ประชุมพร้อมกัน แล้วสอนทรงเทศพระธรรมเทศนา อนันตตลักขณสูตรให้ปัญจวคีย์  อันกล่าวถึง ขันธ์ ๕ เป็น อนัตตา ให้พิจารณา อดีต อนาคต ปัจจุบัน ภายใน หรือ ภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือปราณีต ไกลหรือใกล้ให้พิจราณาด้วยปัญญาอันชอบเป็นตามจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตนของเรา  เบญจขันธ์ไม่เที่ยง และอนัตตา จบเทศนาก็บรรลุเป็นพระอรหันต์พร้อมกันทั้งหมด ๖ องค์
 
ยศสกุลบุตรออกบวช
             ยสกุลบุตรลูกชายมหาเศรษฐี เมืองพารานาสี เบื่อหน่ายกามคุณ ๕ แสดงธรรมโปรดยสกุลบุตรจนบรรลุโสดาปัตติผล มหาเศรษฐีพ่อยศสกุลบุตรเป็น ปฐมอุบาสก อุบาสิกา ผู้ถึงไตรสรณคมน์ ๓ ประการ
·      อนุปุพพิกถา  พรรณนาถึงการให้ทาน
·      สีลกถา   พรรณนาถึงการรักษากริยาวาจาให้เรียบร้อย
·      ทิพย์สมบัติอันคนดีพึงได้ในสวรรค์
·      โทษของกามคุณ
·      อานิสงส์ของการบรรพชา
·      จตุราริยสัจ ๔
จบพระธรรมเทศนา ยสกุลบุตรบรรลุโสดาปัตติผล
 
ปฐมอุบาสก อุบาสิกา
              บิดา มารดา และภรรยา ของยสกุลบุตร ออกมาตามหาลูกชายพบพระโคดม ได้ฟังธรรม บิดาของยศสกุล บรรลุโสดาปัตติผล ขอเป็นปฐมอุบาสก คนแรก และมารดา และภรรยาของยสกุลได้เป็น  ปฐมอุบาสิกา และ๘ณะนั้นยสกุลได้ฟังอยู่ด้วยจิตจึงหลุดพ้นเป็นพระอรหันต์ พระยสะ จึงเป็นอรหันต์ องค์ที่ ๗ 
 
มิตรสหายของยศสกุลบุตร ๔ คนพากันออกบวชตาม
          เพื่อน ๔ คนของพระยสะ คือ วิมละ สุพาหุ  ปุณณชิ  และ ควัมปติ มาเยี่ยมเลยขอบวชจนบรรลุเกิดมีพระอรหันต์ เป็น ๑๑  องค์
 
เพื่อนอีก  ๕๐  คนของพระยสะออกบวช
        เพื่อน ๕๐  คนของพระยสะออกบวชมาเยี่ยมเลยขอบวชจนบรรลุเกิดมีพระอรหันต์ เป็น ๖๑ องค์ทรงให้แยกย้ายไปเผยแพร่ธรรมะทั้ง ๖๑ รูป
 
 
 
พระอรหันต์สาวกทั้ง ๖๐ รูปออกเผยแผ่พระพุทธศาสนา
              ทรงเสด็จอุรุเวลา  หลังออกพรรษา แรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๒ พระพุทธเจ้าสั่งพระอรหันต์ทั้ง ๖๐ รูปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ทั่วทุกทิศ  ส่วนพระองค์เสด็จอุรุเวลา ระหว่างทางทรงแสดงธรรมโปรดภัททวัคคีย์ ในไร่ฝ้ายชื่อ กัปปาสิกวนาสณฑ์ ว่าด้วยการให้ทาน การรักษาศีล การได้เกิดในสวรรค์โทษของกามคุณ ๕ อานิสงส์ของการบวช แสดงอริยสัจ ๔ ให้รู้สภาวะแห่งจิต ไม่ห่วงอดีต ไม่คำนึงถึงอนาคต ยึดมั่นในปัจจุบันธรรมทุกสิ่งมีเกิด ย่อมมีดับ
 
ภัททวัคคีย์
                 ภัททวัคคีย์ พระราชกุมาร ของกษัตริย์ โกศลราช ๓๐ พระองค์ได้ดวงตาเห็นธรรม ขอบวชทั้งหมด พระองค์ส่งไปประกาศศาสนาในทิศต่างๆต่อไป พระองค์เสด็จไปเมืองปาวา และลุถึงอุรุเวลาประเทศ
 
ชฎิล ๓ พี่น้อง:   เป็นเจ้าของกัสสปโคตร
·      อุรุเวลกัสสปะ
·      อุรุเวลกัสสปะ
·      คยากัสสปะ
อุรุเวลกัสสปะ รับภาระลูกศิษ ๕๐๐  คน  ตั้งอาศรมอยู่ในป่าตำบลอุรุเวลา
นทีกัสสปะ    รับภาระลูกศิษ  ๓๐๐  คน ตั้งอาศรมอยู่ที่ริมฝั่งแม่น้ำเนรัลชรา
คยากัสสปะ   รับภาระลูกศิษ   ๒๐๐  คน  ตั้งอาศรมอยู่ที่ตอนใต้คุ้งแม่น้ำที่ตำบลคยาสีสประเทศ
ทรงแสดงอภินิหารกำจัดทิฏฐิของ อุรุเวลกัสสปะซึ่งคิดว่าตนบรรลุอรหันต์แล้ว
·      ทรงสยบฤทธิ์พยานาคในโรงไฟของอุรุเวลกัสสปะ
·      คืนแรกท้าวจาตุมหาราช ทั้ง ๔  ลงมาเฝ้า
·      คืนที่ ๒ สมเด็จพระอินทราธิราช พระสักกะจอมเทพลงมาเฝ้า
·      คืนที่ ๓ ท้าวสหัมบดีมหาพรหม ลงมาเฝ้า
·      วันที่ ๔ เตรียมบูชาไฟ อุรุเวลกัสสปะ วิกตกเกรงพระพุทธองค์จะมาทำปาฏิหารดึงศรัทธาจากตนไปหมดพระองค์ทราบทรงเหาะไปบิณฑบาตที่ อุตรกุรุทวีป แล้วเหาะกลับมาริมสระอโนดาด ตามจิตของดาบส
·      ทรงชักผ้าบังสุกุลจากศพปุณทาสีมาซักผ้า เทพยดาเนรมิตให้ครบถ้วนท้าวสักกะ และเทวดาที่สถิตอยู่ณ.ต้นกุ่มบกเนรมิต สระ แผ่นหิน โน้มกิ่งกุ่ม
·      เหาะไปเก็บลูกหว้าใหญ่ ผลมะขามป้อม ผลมะม่วงในป่าหิมพาน
·      เก็บดอกปาริชาตจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
·      ฝ่าฟืนไม่ออก ก่อไฟไม่ได้ก่อไฟไม่ได้ พอให้ก่อได้ก็ดับไม่ได้ ต้องพระองค์สั่ง
·      ทรงแสดงอภินิหารเนรมิตกองไฟ ๕๐๐  กอง
·      ฝนตกผิดฤดู หนัก น้ำท่วม ฯลฯ
               ทรงแสดงอภินิหารกำจัดทิฏฐิของ อุรุเวลกัสสปะมากมาย จนต้องบอกตรงๆว่าอุรุเวลกัสสปะยังไม่บรรลุอรหันต์ให้สลดใจ อุรุเวลกัสสปะจึงยอมบวช รวมบริวารทั้ง ๕๐๐ คนขอบวชหมดจึงลอยชฎา บริขาร เครื่องบูชาเพลิงลงแม่น้ำหมด  นทีกัสสปะ น้องชายที่ ๒ เห็นบริขารลอยมาตกใจ ตามไปหาพี่พร้อมกับบริวาร ๓๐๐ ในที่สุดขอบวชหมด แล้วจึงลอยชฎา บริขาร เครื่องบูชาเพลิงลงแม่น้ำหมดเช่นกัน   คยากัสสปะ น้องชายที่ ๓ เห็นบริขารลอยมาตกใจตามไปหาพี่พร้อมบริวาร ๒๐๐ ก็ขอบวชทั้งหมด
       รวมชฎิล 3 พี่น้อง: อุรุเวลกัสสปะ นทีกัสสปะ คยากัสสปะ และบริวาร ทั้งหมด ๑๐๐๓  คนขอบรรพชาในสำนักพระศาสดาทรงแสดง อาทิตตปริยายสูตร สิ่งทั้งปวงถูกเผา คืออายตนะถูกเผา ผัสสะทางใจ เมื่อจิตเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัดเมื่อจิตหลุดพ้นย่อมรุ้ว่าหลุดพ้นแล้ว จบพระธรรมเทศนาชฎิลทั้ง ๑๐๐๓ คนก็บรรลุเป็นพระอรหันต์
 
ทรงโปรดพระเจ้าพิมพิสารแห่งแคว้นมคธ
·      ทรงเสด็จแคว้นมคธ โปรดพระเจ้าพิมพิสารแห่งแคว้นมคธ พร้อมทหาร ๑๑ หมื่น จนบรรลุโสดาบัน อีก ๑ หมื่นยึดมั่นในพระรัตนตรัย
·      พระเจ้าพิมพิสารถวาย  เวฬุวโนทยาน : วัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนา
·      ฝูงเปรตที่เป็นพระญาติแห่งพระเจ้าพิมพิสารมาขอส่วนบุญพระเจ้าพิมพิสารทรงประแจ้งในผลทาน ทรงแสดงเทศนา ติโรกุฑฑสูตร รวม ๑๒ บทจบเทศนารวม ๗ วัน มีคนบรรลุมรรคผลนิพพาน ๘  หมื่น ๔ พันคนต่อวัน
 
พระอัครสาวกซ้ายขวา
อุปติสสมาณ(สาร