จิตว่างจากกิเลส แบ่งออกได้ ๓ ระดับชั้น คือ
-
ว่างโดยบังเอิญตามธรรมชาติ
-
ว่างโดยการข่มบังคับ จึงยังกลับมาใหม่ได้
-
ว่างโดยใช้ปัญญา ขั้นสมุจเฉทวิมุติ เจริญด้วยศีล สมาธิ ปัญญา ถึงพร้อมจนสามารถปล่อยวางได้ไม่ไหวไปตามอารมณ์ที่แกว่งไกวตามคุณอาการของจิต
การที่จิตรับรู้อารมณ์ เราต้องพยายามรับรู้ดูอารมณ์อย่างต่อเนื่องจึงเรียกว่ามีสติอยู่เสมอ จิต รับรู้สุข ทุกข์ หากจิตรับรู้อารมณ์ทางอายตนะจะรับรู้ได้ทีละอารมณ์เท่านั้น ส่วนธรรมารมณ์ คือการที่เรานึกคิดจินตนาการโดยไม่ได้ใช้ประสาททั้ง ๕ อันทำให้เกิดอารมณ์ได้ จิตที่ถูกฝึกให้ต้านทานต่อสิ่งเร้า ทนต่ออารมณ์และสามารถควบคุมไม่ให้ไหลไปทางเสื่อมได้นั้น ย่อมจะดีกว่าจิตที่ไม่เคยฝึกเลย ดังนั้นเราควรฝึกจิตโดยการฝึกเพ่งในลักษณะเพ่งธรรม ให้เห็นตามความเป็นจริง รู้ทุกข์ รู้สุข รู้คิดสรุปจากผัสสะ ทั้งนี้สิ่งที่มากระทบจากภายนอกเป็นเพียงปัจจัยให้จิต รู้ คิด สรุป และหาเหตุให้ได้ว่าเกิดเพราะอะไร เหตุเกิดได้ต้องมีสาเหตุ ซึ่งเกิดจากปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อต้นเหตุนั้นๆ